Creative Commons License
photobygolf.multiply.com โดย photobygolf.multiply.com อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ photobygolf.multiply.com.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ photobygolf.multiply.com

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

รวมTVC Nikon



Nikon Training (Part One)
โดยลุงบ๊อบ คริส


Nikon Training (part two)



Nikon Training (part 3)



Nikon Training (part 4)



Nikon Training (part 5 & final)



วิดีโอการเรียนการสอนหลักสูตรการใช้ไฟแฟลชจาก strobist.com

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กล้องรุ่นใหม่ๆกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

กล้องรุ่นใหม่ๆกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
+ ในยุคสมัยกล้องฟิล์มนั้น การออกกล้องรุ่นใหม่ๆนั้นกินเวลานาน
บางรุ่นอาจนานถึงถึง8-10 ปีเลยทีเดียว เอาว่าอายุเท่าๆกับการออกรถรุ่นใหม่ๆนั่นเอง
คือเฉลี่ย 4-6 ปี อย่างเช่น Nikon F3 > F4 > F5
+ กลุ่มผู้ใช้จะยินดีเเละยอมรับ feature ที่ผู้ผลิตใส่มาให้เเละจะไม่เรื่องมากหรือ demand
สูงเกี่ยวกับสเปคกล้อง กลับกัน จะให้ความสำคัญในเรื่อง film & filter เเทน
+ ผู้ใช้กล้องจะให้ความสำคัญในเรื่องฟิล์มเเละเลนส์เป็นอันดับหนึ่ง หลังจากที่ตัดสินใจซื้อบอดี้เเล้ว
+ ช่างภาพมักมีบอดี้ 2-3 โดยเฉลี่ย รุ่นเดียวกันเเละรุ่นรอง อย่างเช่น F4 2บอดี้ เเละ F90 เป็นบอดี้สำรอง อะไรประมาณนั้น
เเต่ช่างภาพจะลงทุนในในเรื่องเลนส์เเละไฟ มากกว่าบอดี้
+ ช่างภาพจะมีเลนส์จะมีเป็นกระตั๊ก ฟิล์มจะซื้อเเช่ตู้เย็นไว้เลย
+ ตามหนังสือ จะคุยกันเรื่องเทคนิค เลนส์เเละฟิล์มเทสเพราะสมัยนั้นยังไม่มีคอมใช้กว้างขวางเเละยังไม่มีเว็บบอร์ด (forum)

มายุคปัจจุบัน
+ กล้องดิจิตอลออกมาถี่มาก ประมาณทุกๆ 6 เดือนจะต้องมีกล้องออกใหม่ไม่ว่า
ยี่ห้อใดหรือรุ่นใดออกมาเเน่นอน
+ การพัฒนา sensor เร็วมาก เร็วกว่าการพัฒนาเลนส์เพื่อรองรับ
ดังนั้นการออกกล้องรุ่นใหม่เพื่อเพิ่ม feature ใหม่ๆเข้าไปเพื่อสร้างมูลค่าทางการตลาด
ทั้งๆที่ feature หลายๆตัวนั้นเป็นเพียง fancy feature หรือเหมือนของเล่นที่ไม่มีความจำเป็นจริงๆ
เเต่ถูกยัดเยียดให้ โฆษณาเเละปลูกฝังให้เชื่อว่า feature เหล่านั้นมีประโยชน์ คุณต้องการมัน
ยกตัวอย่างเช่น video / picture style / face detection / . . .
เเน่นอนว่าถึงตอนนี้หลายคนจะเเย้งเเล้วว่า มันเป็น feature ที่จำเป็น
คุณก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกกลืนเข้าไปในกระเเสเทคโนโลยี่ที่หลอกตัวเองว่ามันจำเป็น
มีดีกว่าไม่มี สารพัดเหตุผลที่เอามากลบเกลื่อนเข้าข้างตัวเองเพียงเพราะ
ได้เสียเงินไปกับกล้องรุ่นใหม่ๆที่มีอยายุสั้นเพียง 18-24 เดือนเท่านั้น
+ ซึ่งเหล่านี้ต่างจากสมัยก่อนที่คุณตัดสินใจซื้อ Nikon F4 หรือ Canon 1N ตัวเดียว
คุณจะคิดว่านี่คือสิ่งที่ดีที่สุด คือกล้องที่คุณจะใช้ไปตลอดจนกว่ามันจะพังคามือ
+ หรือเเม้เเต่ยุค early digital ที่คนตัดสินใจซื้อ Nikon D1 หรือ Canon 1D
ช่างภาพเหล่านั้นก็ยังใช้หลักความคิดเดิมที่คิดว่ากล้องในรุ่นท้อปพวกนั้นซื้อมาทีเดียว
จะสามารถใช้งานได้นานเป็น 10 ปีเหมือน Nikon F4 เเต่เเล้ว....ทุกอย่างก็ตรงกันข้าม
+ การอัพเกรดกล้องในปัจจุบันไม่ต่างอะไรกับการเลือกซื้อฟิล์มเเบบใหม่มาใช้
เพราะกล้องรุ่นใหม่มาพร้อม sensor ที่ใหม่ image processor ที่ใหม่กว่า
ใหม่ทุกครั้งที่ออก ไม่มีที่สิ้นสุด . . . เเล้วมันจะสิ้นสุดที่ตรงไหน
+ ราคากล้อง hi-end ปัจจุบัน ราคาสูงกว่ากล้องฟิล์ม hi-end ในอดีตถึง 2-5 เท่า
เเต่นั่นก็คือการทดเเทนค่าฟิล์มนั่นเอง

+ Canon EOS 1V = $1,600 Canon EOS 1DsIII = $8,000
ตัวเเรกใช้งานได้เป็นสิบปี+ ส่วนตัวหลังอายุ 3 ปี
เเน่นอนว่า 1DsIII ยังใช้งานได้อีกเป็นสิบปี เเต่อะไรล่ะที่เป็นข้อสรุปว่าไม่จำเป็นต้องอัพเกรด

+ ส่วนนึงต้องยอมรับว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากเหตุผลในเรื่องความสะดวก
ยกตัวอย่างง่ายๆ จากแต่ก่อนถ่ายเสร็จก็ต้องรอเอารูปไปล้าง ถึงจะได้ชมกัน เเละรวมถึงความสะดวก
ในการปรับเเต่งภาพเเละโทนสีในตัวกล้องเลย จะสะดวกมากสำหรับคนที่ใช้คอมเเต่งภาพไม่เป็น

+ ณ วันนี้ ผู้คนยังคงสับสนเเละไม่เเน่ใจในการตัดสินใจใช้กล้องว่าจะยึดติดเเบบเดิมหรือจะตามกระเเสที่เปลี่ยนไป


ผมคนนึงที่ยังคาบเกี่ยวอยู่ตรงกลางระหว่าง ฟิล์มกับดิจิตอล
เหมือนอยู่ในยุค รอยต่อ

ไม่อยากตามกระเเสอัพเกรดกล้องทุก 2 ปีอย่างบ้าคลั่ง จ่ายเป็นเเสนๆ เพื่อได้ใช้กล้องรุ่นใหม่ล่าสุด
เเต่สนุกที่ได้เห็นเทคโนโลยี่ใหม่ๆทุกๆ 6 เดือน

ปัจจุบันผมมีกล้องฟิล์มมากกว่ากล้องดิจิตอลเเละทุกวันต้องจับกล้องฟิล์ม (จับเล่น-ลูบคลำก็ยังดี)

อย่างหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคกล้องดิจิตอลเปลี่ยนไป
อาจอยู่ที่ fancy feature นี่เหละ มันเหมือนขนมหวานที่เอามาล่อ
ประเภทจอใหญ่ 3 นิ้ว สีสวย ถ่ายวีดีโอได้ สารพัดของเล่น
เดี่ยวนี้เห็นคนหันมาเล่น DSLR กันเยอะโดยมองแค่ว่าตัวไหนสเปคสูงสุด
หลายๆคนอาจยึดติดเพียงเเค่ว่าภาพสวยๆได้มาจากกล้องดีๆ หรือไม่ก็เลนส์ดีๆ
ขอเพียงสองอย่างนี้ดียังไงก็ถ่ายภาพได้สวยเเน่นอน

เเละจุดอ่อนอีกอย่างอยู่ที่กลุ่มใช้กล้องในระดับ entry level อัพเกรดบ่อยก็อาจด้วยเหตุผลเพราะราคาบอดี้ที่ถูก
ทำให้สามารถเปลี่ยนบ่อยๆได้ เลยเปลี่ยนทุกๆ 18 เดือน

ส่วนพวกทำงานมีเงินหน่อยก็หนักหน่อย เปลี่ยนทีก็เหยียบเเสน ก็พวก D700 / 5DII
รุ่นกลางๆ 5 หมื่นนี่โดนเเน่ๆ D300 / 50D เหมือนเป็นการซื้อตามเเฟชั่นเเละตามเทคโยโลยี่ใหม่ๆ
มันเป็นเเนวโน้มที่น่ากลัว

ผมเลยขอถอยก่อนดีกว่าสำหรับดิจิตอล หันกลับไปใช้กล้องฟิล์ม
หากผมไม่ใช้โอกาสตรงนี้ ตอนนี้ เวลานี้เก็บเกี่ยว ในอนาคตอาจไม่มีโอกาสใช้กล้องฟิล์มเเล้วก็ได้
หากถึงวันที่เลิกผลิตเคมีล้างภาพ เเต่อย่างน้อยครั้งหนึ่งเราก็ยังมีประสบการณ์เเละความรู้สึกดีๆให้กับกล้องฟิล์ม


ผมกำลังคิดว่าพวกเราๆท่านๆกำลังถูกกระเเสเทคโนโลยี่พัดพาไป (อย่างเเรง)
ในความเร็วที่เร็วเกินไป เเต่หลายคนก็สนุกที่จะให้มันพัดตัวเราไปตามกระเเส

เทคโนโลยี่ด้าน sensor ถูกพัฒนาไปเร็วกว่าการผลิต lenses เพื่อมารองรับ
ตอนนี้หลายค่ายได้หันไปอัพเกรดเลนส์ในค่ายตัวเองเเล้ว
อย่างเช่น Leica 8bit, Canon new coating SWC, Nikkor Nano-G
Mamiya Digital, เเละอีกหลายตัวใน large format

กล้อง leica ที่มีความทนทานสูงมากเเต่กลับบ้าจี้ให้ส่งศูนย์เพื่อ adjust...something
หากทำกล้องตกใส่พื้นพรมในระยะความสูงเพียง 6 นิ้ว...มันบอบบางอย่างนั้นเชียวหรือ
เเต่กับ Canon 1n, Nikon F4,F90 เขวี้ยงลงพื้นดินก้อนกรวดยังใช้งานได้ดีอยู่เลย

ความเชื่อมั่นในสินค้าดิจิตอลมันหายไปหมดเเล้ว
จะยินดีกับผู้ใช้ D700 / 5DII ดีหรือไม่ว่ากล้องท่าน ณ เวลาปัจจุบัน
มีอายุเหลือเพียงไม่ถึง 20 เดือนเเล้ว

ความยากมันอยู่ที่ตรงไหน
มันอยู่ตรงที่ว่าหากเราตัดสินใจซื้อกล้องในระดับ full frame ตัวหนึ่ง
เราจะใช้งานมันกี่ปี จนกว่ารุ่นใหม่จะออก หรือจนกว่ามันจะพัง
จะอดกลั้นต่อเทคโนโลยี่ใหม่ๆไหวหรือไม่

Fancy feature หลายๆตัวกำลังถูกยัดลงไปในกล้องรุ่นใหม่ๆ
เเละอาจจะถูกถอดออกวันใดวันหนึ่งเมื่อถึงอิ่มตัวเเละพิสูจน์เเล้วว่า
มันไม่ work อย่างเช่น video / 21MP / 45 focus point / 10 fps
นอกเสียจากว่ามันจะเป็นกล้องรุ่นพิเศษ คือออกเเบบมาเพื่อการใช้งานที่เเตกต่างเช่น (กีฬา)

ตัวอย่างของ feature ในอดีตที่ถูกถอดออกก็อย่างเช่น Eye control ในกล้อง EOS
ที่พิสูจน์เเล้วว่าในการใช้งานจริงนั้นมีปัญหา

มีการเเยกเหตุผลการอัพเกรดกล้องในลักษณะนี้
1) กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ที่ไม่ได้มีรายได้จากการถ่ายภาพ - อันนี้น่าจะเป็นกล้องระดับล่างเเละกลาง อย่างเช่น
Nikon D40/D90
Canon 1000D/450D
Olympus E420/520
ในระดับนี้การอัพเกรดจะบ่อยเเละทำกำไรมากที่สุด เพราะราคาถูกเเละบอดี้ไม่เเข็งเเรง วัสดุเปราะบาง
เเละกลุ่มผู้ใช้ enjoy เป็นอย่างมากกับ feature ที่ให้มา


2) กลุ่มผู้ใช้ที่หารายได้จากการถ่ายภาพเป็นงานเสริม - กลุ่มนี้อาจจะเลือกใช้รุ่นกลางที่ราคาไม่เเพงนักอย่างเช่น
Nikon D300/D700 Canon 50D/5D
กลุ่มนี้ก็มีเเนวโน้มสูงที่จะเปลี่ยนกล้องทุกครั้งที่มีรุ่นใหม่ออกมา ปัจจัยผันเเปรโดยตรงคือเรื่องเงิน หากเงินพอ อัพเเน่นอน

3) กลุ่มผู้ใช้อาชีพ คือมีอาชีพหลักในการถ่ายภาพ - กลุ่มนี้อาจอัพหรือไม่อัพก็ได้ เเล้วเเต่เหตุผลของเเต่ละคน
เเละเหตุผลในเรื่องประเภทของงานที่รับจ้างมาด้วย ปล.ในที่นี้เงินไม่ใช่อุปสรรค
Nikon D300/D700 /D3/D3X
Canon 5D/5DII/1DIII/1DsIII
Olympus E3

สาเหตุที่ไม่อัพเกรดของช่างภาพอาชีพ
+ กล้องปัจจุบันหรืออาจจะตกรุ่นไปเเล้ว ยังให้คุณภาพที่ดีพอ ยังได้รับการยอมรับจากลูกค้าว่าคุณภาพยังดีอยู่
+ มองเห็นว่าการใช้กล้องอย่างน้อยๆ3-5 ปี เป็นความคิดที่ถูก เป็นการบริหารเงินที่ถูกต้อง ในเเง่หนึ่ง

สาเหตุที่ต้องอัพเกรด ของช่างภาพอาชีพ
+ ในหน้าที่การการบีบให้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทันสมัยรุ่นล่าสุดเสมอ เพราะต้องการทันสมัยในเทคโนโลยี่
+ เกี่ยวกับเรื่องการขาย การใช้ feature ใหม่ๆเเละ model กล้องเป็นจุดชักจูง เป็นจุดขายอย่างหนึ่ง
+ พัง เเละใช้จนเลยจุดคุ้มทุนเเล้ว
+ เป็นอะไรที่จะต้องตามไปจนวันตาย

จบ...(จาก etcfoto)

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

ท่าพ๊อตเทรด

รูปนี้เป็นการโพสท่าต่างๆ ของนางแบบนะครับ (มีบางท่า SEXY นะ อิอิ)
Posted by Picasa

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

I LovE NiKoN

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

หมู่บ้านเด็กตะวันฉาย จ.ภูเก็ต



เมื่อก่อนปีใหม่ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเพื่อน (ที่เป็นอาสาสมัคร) อยู่ที่บ้านแห่งนี้ และวันเดียวกันนี้เป็นวันที่เขาได้นำเสื้อผ้ามาบริจาคให้เด็กๆ

หมู่บ้านเด็กตะวันฉาย หรือ Phuket Sunshine Village เป็นสถานที่ๆดูแลเด็กด้อยโอกาสแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต ที่มีรูปแบบการบริหารที่เป็นมาตรฐาน โดยได้แนวคิดจาก (เอสโอเอสคินเดอร์ดอฟ) เป็นแบบอย่าง ด้วยโครงการจัดสร้างหมู่บ้านนี้ได้ริเริ่มจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 ซึ่งในประเทศไทยได้รับความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
วัตถุประสงค์ของหมู่บ้านเด็กตะวันฉาย
- ช่วยเหลือเด็กให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- เลี้ยงดูและส่งเสริมเด็กให้มีคุณธรรม จริยธรรม และระเบียบวินัย
- ให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรมแบบไทยและกฏหมายที่ควรรู้
- ส่งเสริมเด็กได้เรียนรู้โอกาสด้านอาชีพเพื่อสามารถเลี้ยงดูตนเองได้ในอนาคต

ท่านที่ประสงค์จะช่วยเหลือก็ติดต่อที่ได้
15/20 ซ.น้ำหนึ่งใจเดียวกัน หมู่ 1 ถ.เทียมประชาอุทิศ เกาะสิเหร่ ต.รัษฏา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
หรือที่เวปไซต์ http://www.phuketsunshinevillage.org/ ครับพี่น้อง